วันอังคารที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

การคำนวณค่าไฟฟ้า

การคำนวณค่าไฟฟ้า

              เครื่องใช้ไฟฟ้าแต่ละชนิดจะใช้พลังงานไฟฟ้าต่างกัน ขึ้นอยู่กับชนิดและขนาดของเครื่องใช้
ไฟฟ้า ซึ่งทราบได้จากตัวเลขที่กำกับไว้บนเครื่องใช้ไฟฟ้า ที่ระบุไว้ทั้งความต่างศักย์ (V) 
และกำลังไฟฟ้า (W)
               ตัวอย่างเช่น หลอดไฟฟ้า หม้อหุงข้าวไฟฟ้า เตารีดไฟฟ้า มีตัวเลขกำกับไว้บนเครื่องใช้ไฟฟ้า 
เช่น หลอดไฟฟ้ามีตัวเลขกำกับว่า 220 V 80 W
                   - ตัวเลข 220 V หมายถึงหลอดไฟฟ้านี้ใช้กับความต่างศักย์ 220 โวลต์ ซึ่งเราต้องใช้ไฟให้
ตรงกับค่าความต่างศักย์ที่กำหนด
                    - ตัวเลข 80 W ที่กำกับมาเป็นค่าของพลังงานไฟฟ้าที่หลอดไฟฟ้าใช้ไปในเวลา 1 วินาที
 ซึ่งเรียกว่า กำลังไฟฟ้า 
             หมายเหตุ - ในการวัดพลังงานไฟฟ้า เราจะใช้หน่วยเป็นจูล ตัวเลข 80 W จึงหมายความว่า 
หลอดไฟฟ้านี้จะใช้พลังงานไฟฟ้า 80 จูล ในเวลา 1 วินาที
              ค่าไฟ เป็นสิ่งที่เราต้องจ่ายทุกเดือน เพราะไม่มีใครปฏิเสธว่าไม่ได้ใช้ไฟ (ถึงแม้พ่อแม่เรา
จะเป็นคนจ่ายก็ตาม) จะดีแค่ไหนหากเรารู้วิธีการคำนวณค่าไฟฟ้าสำหรับอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ
 เราจะสามารถประมาณค่าไฟ (โดยประมาณ) ของแต่ละเดือนได้ ประโยชน์ก็จะตกอยู่กับเราเอง
ในการวางแผนการใช้จ่ายได้ง่ายขึ้น โดยการคำนวณค่าไฟฟ้านั้น เราสามารถทำได้ด้วยตนเองง่ายๆ 
จากสูตรที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้*
              สำหรับการใช้ไฟฟ้าของเครื่องใช้ไฟฟ้าใน 1 วัน เราสามารถใช้สูตรการคำนวณดังนี้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น